เว็บไซต์ภายใต้กรม ฯ
การวางแผนและการสร้างระบบความก้าวหน้าในอาชีพ
พนักงานในหน่วยงานวิสาหกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง รวมทั้ง วิสาหกิจชุมชน มักจะทำงานไปเรื่อย ๆ โดยได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีการเลื่อนตำแหน่ง หรือ หากจะเลื่อนตำแหน่งก็เพราะอยู่มานาน มีทักษะในงานที่ทำ จึงได้รับการปรับให้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร โดยไม่มีการวางแผนพัฒนาความรู้ ทักษะ และ ศักยภาพต่าง ๆ ที่เหมาะกับตำแหน่งที่บุคลากรจะก้าวไปดำรงตำแหน่งนั้น ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นผู้บริหารระดับต้น
การได้รับโอกาสในการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง หรือ ความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงานเป็นการเตรียมการสำหรับงานในอนาคต โมเดลการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของหน่วยงาน (A Model of Organizational Career Development แบ่งเป็น 2 กระบวนการคือ บุคลากรแต่ละคนมีแผนและดำเนินการตามแผนที่กำหนดเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในอาชีพของตนเอง (Career planning) และ การที่แต่ละหน่วยงานมีการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ และนำโปรแกรมนั้นไปดำเนินการอย่างไร ดังแสดงให้เห็นในโมเดลข้างล่างนี้
กระบวนการย่อย (บุคลากรทราบสายความก้าวหน้าในอาชีพของตนเอง) |
กระบวนการย่อย | ||
- เลือกอาชีพ | - การสรรหาและคัดเลือก | ||
- เลือกหน่วยงาน | - การบรรจุพนักงาน | ||
- เลือกงาน | - ประเมินผลการปฏิบัติงาน | ||
- การพัฒนาตนเองเพื่องานอาชีพ (แต่ละคนต้องตระหนัก และ พิจารณาตนเองอย่างรอบคอบ ถึงทักษะ ความสนใจ คุณค่า โอกาส ข้อจำกัด ตัวเลือก และ ผลที่ตามมา) | - อบรมและพัฒนา (เลือกคนเข้ามาทำงาน ให้ความสนใจและใส่ใจในความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงาน) |
ขั้นตอนการสร้างระบบ มีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 มองภาพรวมของหน่วยงานกำหนดกลุ่มตำแหน่งที่มีในหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น “บริษัทตรวจประเมิน” แบ่งตำแหน่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มสนับสนุน (Administrative) และ กลุ่มออกผลผลิต (Physical) กลุ่มสนับสนุนเป็นกลุ่มที่ทำงานอยู่ในหน่วยงาน อาทิ ตำแหน่งบัญชีและการเงิน ตำแหน่งประเมินราคา ตำแหน่งบุคคล ตำแหน่งสุขภาพ และความปลอดภัย ส่วนกลุ่มออกผลผลิต คือกลุ่มที่ทำงานนอกหน่วยงานและทำงานเกี่ยวกับหารายได้เข้าหน่วยงาน
บริษัทติดตามประเมิน (Audited Company) | ||
ลำดับ | งาน | แบ่งกลุ่ม |
1 | บัญชีและการเงิน | กลุ่มสนับสนุน |
2 | ประเมินราคา | |
3 | บุคคล | |
4 | สุขภาพและความปลอดภัย | |
5 | กลุ่มออกผลผลิต | ตรวจประเมิน |
ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์รายละเอียดของตำแหน่งต่าง ๆ ใน 2 กลุ่ม กำหนดว่าในแต่ละตำแหน่งควรจะมีกี่ระดับ พร้อมกำหนดความจำเป็นและโอกาสในการได้รับการส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในงาน จากกรณี “บริษัทตรวจประเมิน” ที่กำหนดตำแหน่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มสนับสนุน กับ กลุ่มออกผลผลิต ทุกตำแหน่งในกลุ่มสนับสนุนไม่มีระดับ ดังนั้นตำแหน่งบัญชีและการเงินก็จะทำงานในตำแหน่งนี้เพียงตำแหน่งเดียวโดยไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีระดับสูงขึ้น หรือ สามารถย้ายไปทำงานส่วนอื่นได้ ซึ่งก็คือไม่มีความก้าวหน้าในอาชีพที่ทำ ดังนั้นหากมีหน่วยงานอื่นเสนอเงินเดือนและตำแหน่งที่สูงขึ้นกับบุคลากรในตำแหน่งนี้ พนักงานอาจจะลาออก ซึ่งต่างจากกลุ่มออกผลผลิต ที่มีการกำหนดความก้าวหน้าในอาชีพไว้ 2 ระดับ คือ จากพนักงาน มีโอกาสเติบโตเป็นหัวหน้างาน และ ผู้จัดการตามลำดับ
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้พิจารณาการเลื่อนตำแหน่ง หรือ ระดับ ในกลุ่มงาน สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ วิสาหกิจชุมชนไม่ควรซับซ้อน ปกติทั่วไปจะใช้หลักเกณฑ์คือ การศึกษาของบุคลากร ประสบการณ์ สูงขึ้นจากระดับแรกก็คือ
บริษัทติดตามประเมิน (Audited Company) | |||
กลุ่ม | ระดับ | เกณฑ์ใช้คัดเลือก | ผู้ตัดสิน |
สนับสนุน | ไม่มี | การศึกษา | |
ออกผลผลิต | พนักงาน | การศึกษา | |
หัวหน้างาน | - ความรู้ - ความรับผิดชอบในงาน - ทักษะในงาน - ความกล้า - ความถูกต้อง |
ผู้จัดการ | |
ผู้จัดการ | - เพิ่มเติมจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ข้างต้น - จำนวนปีของประสบการณ์ ในอุตสาหกรรมที่ทำ - มีความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานอย่างดี หรือ ดีเยี่ยม |
ขั้นตอนที่ 4 เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในที่เดียวเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไปในอนาคต สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เส้นทางอาชีพมักจะสั้น จึงไม่มีข้อมูลมากมายให้ต้องเก็บรวบรวม ตัวอย่าง เส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (รูปที่ 1 และ 2)...เริ่มจากเป็น หัวหน้าหน่วย (เป็นตำแหน่งที่ไม่มีลูกน้อง)
บริษัทติดตามประเมิน (Audited Company) | |||||
ลำดับ | งาน | แบ่งกลุ่ม | ระดับ | ||
1 | บัญชีและการเงิน | กลุ่มสนับสนุน | ไม่มี | ||
2 | ประเมินราคา | ||||
3 | บุคคล | ||||
4 | สุขภาพและความปลอดภัย | ||||
5 | ตรวจประเมิน | กลุ่มออกผลผลิต | พนักงาน | หัวหน้างาน | ผู้จัดการ |
ต้องจบปริญญาตรี หากคุณสมบัติถึง อาทิ ผลงาน ความรู้ ความสามารถ คุณลักษณะต่าง ๆ เป็นไปตามที่กำหนดในแต่ละขั้น ผู้ดำรงตำแหน่งก็มีโอกาสที่จะก้าวหน้าสูงสุดถึงตำแหน่งผู้จัดการฝ่าย เช่นเดียวกับรูปที่ 2 ทั้ง 2 รูปเป็นการกำหนดความก้าวหน้าในงานสำหรับหน่วยงานระดับกลางขึ้นไป อย่างไรก็ตามบุคลากรที่ประจำในแต่ละตำแหน่งควรทราบถึงความก้าวหน้าในอาชีพของตน เพื่อให้แต่ละคนได้เตรียมการสำหรับงานในอนาคต ตลอดทั้งได้ทราบว่าค่าตอบแทนในอนาคตจะเป็นอย่างไร อันนำไปสู่ความพึงพอใจในงานที่ทำ หรือ ที่จะทำในอนาคต
ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง :
incquity.com: Career Path and Career Management in the Gardening company form SME Sector.
pjms.zim.pcz.pl