เว็บไซต์ภายใต้กรม ฯ
ถามมา-ตอบไปกับงานบุคคล
1. สับสนระหว่างการวิเคราะห์งาน (JA) ใบพรรณางาน (JD) การกำหนดคุณสมบัติ (JS)
- การวิเคราะห์งานคือ (JA) เป็นการวิเคราะห์แต่ละงาน เพื่อให้ทราบว่าแต่ละงานทำอะไร รวมถึงผลสำเร็จของงานนั้น ๆ คืออะไร? เช่น งานผลิต
- การทำใบพรรณางาน (JD) คือ การกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่จะทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ ว่าจะต้องทำงานอะไร เพื่อให้ได้ผลสำร็จตามที่กำหนด
- การกำหนดคุณสมบัติประจำตำแหน่ง (JS) ว่าตำแหน่งนั้น ๆ ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ อาทิ ความสามารถในการสื่อสาร ประสบการณ์ในการทำงานก่อนหน้าที่จะมาสมัครในตำแหน่งนั้น ๆ กี่ปี รวมถึง คุณลักษณะพิเศษ เช่น การมีส่วนร่วม ความมุ่งมั่น อดทนต่อความกดดัน เป็นต้น
2. อบรมแล้วไม่เห็นพนักงานเปลี่ยนพฤติกรรมได้นาน เดี๋ยวก็กลับไปเหมือนเดิม
ที่ไม่เปลี่ยนต่อเนื่อง เพราะเมื่อกลับมาหน่วยงาน ผู้บริหาร/ผู้ประกอบการไม่ได้นำโครงการการมีส่วนร่วม อาทิ 5ส. ข้อเสนอแนะ คิวซี มาประยุต์ใช้ในหน่วยงาน มีหน่วยงานหนึ่ง ก่อนเริ่มโครงการ 5ส. เขาพาบุคลากรที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงาน (Facilitator) ไปทำ Walk rally แล้วค่อยอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง 5ส. ผลคือเกิดการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรม
3. ผมตั้งเงินเดือนตัวเองต่ำ ๆ แล้วไปเพิ่มเงินที่อื่น จะได้เสียภาษีน้อย
ก็ได้ค่ะ แต่รายจ่ายของหน่วยงานก็จะไปโป่งที่อื่นเหมือนกัน ถ้าเราเอาเงินเดือนน้อยแต่ไปเอาผลประโยชน์หน่วยงานในรูปแบบอื่น รายจ่ายของหน่วยงานก็ต้องมีอยู่ดี ตรงไปตรงมาดีกว่า
4. อยากให้พนักงานมี happy money จึงตั้งกองทุนให้พนักงานกู้เงิน
แนะนำว่าก่อนตั้งกองทุน ขอให้เชิญวิทยากรมาสอนการบริหารจัดการหนี้ การบริหารจัดการเงินเดือน หน่วยงานควรนำโครงการเพื่อปรับปรุงงานมาประยุกต์ใช้ หากพนักงานเขียนข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงาน หน่วยงานจะจ่ายให้ 30 บาท ถ้านำความคิดไปทำแล้วเห็นผล หน่วยงานจ่าย 50 บาท ถ้าข้อเสนอแนะนั้นช่วยให้หน่วยสามารถลดด้นทุนได้เป็นแสน เป็นล้านก็ควรปันผลให้ผู้เขียนข้อเสนอแนะนั้น หรือปันผลประโยชน์ที่ได้เป็นกองทุนให้กู้ดอกเบี้ยต่ำ (ไม่ค่อยอยากให้กู้เพราะรายได้ถ้าไม่มีสูงกว่ารายจ่ายก็จะลำบากอยู่ดี)
5. การให้คนออกจะไม่มีเมตตาไหม
พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา การที่พนักงานทำดีเราก็ให้รางวัล แต่ถ้าพนักงานทำไม่ถูกต้อง ผิดวินัยก็ต้องลงโทษเพื่อให้ทำในสิ่งที่ถูกต้องกับหน่วยงาน การลงโทษบุคลากร มีตั้งแต่
ตักเตือนด้วยวาจา
ตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร
พักงาน
ไล่ออก
หรือ ตามแนวทางของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน ก็แบ่งเป็น ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก
ถ้าเราอยากจะเมตตาก็ให้ตักเตือนด้วยวาจา และ ลายลักษณ์อักษร มากกว่า 1 ครั้ง แต่ถ้าพนักงานยังทำผิดซ้ำเรื่องเดิม อันส่งผลเสียหาย กับหน่วยงาน และ ระบบ ก็คงไม่มีประโยชน์ที่จะให้โอกาสซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะนอกจากจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับบุคลากรท่านอื่นแล้ว ยังทำให้ข้อบังคับของหน่วยงานไม่ศักดิ์สิทธิ์ด้วย
6. พนักงานทิ้งงานไป 1 ปี แล้วกลับมาขอใบผ่านงาน พร้อมเอาชื่อนักการเมืองท้องถิ่น มาขู่
ก่อนอื่นต้องถามว่าหน่วยงานนี้มีข้อบังคับในการทำงานหรือไม่? และในข้อบังคับนั้นมีเขียนถึงการทิ้งงานไว้หรือไม่? ถ้ามีการเขียนไว้ชัดเจนก็สามารถที่จะไม่ออกหนังสือผ่านงานได้ เพราะไม่เป็นไปตามข้อบังคับในการทำงานเนื่องจากเจ้าหน้าที่คนนี้ทิ้งงาน และ หายไปกว่า 1 ปี แต่ในกรณีนี้เจ้าหน้าที่คนนี้เอานักการเมืองท้องถิ่นมาขู่ ถ้าไม่สนใจการข่มขู่ก็ไม่ต้องให้ แต่ถ้าต้องการจบปัญหา ก็ออกหนังสือให้แค่บอกว่าเขาทำงานกับเราตั้งแต่เมื่อไหร่ถึงเมื่อไหร่ ไม่ต้องบอกสาเหตุการลาออก แค่บอกระยะเวลา