เว็บไซต์ภายใต้กรม ฯ
SMEs Case Study #โรงงานผลิตยางแท่ง STR 20
1. ข้อมูลกิจการ
บริษัทซึ่งเป็นกรณีศึกษา ดำเนินธุรกิจผลิตยางแท่ง STR 20 โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 100 ตัน/วัน มีพนักงานประมาณ 230 คน โดยผลผลิตขอบริษัทจะทำการจัดส่งไปยังบริษัท โยโกฮาม่า และบริษัทในเครือต่อไป
ประเภทของยางพารา
ขั้นตอนการการทำงาน
2. การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา
จากผลการสำรวจโรงงานเบื้องต้น สรุปได้ดังนี้
• บุคลากรในองค์กรยังขาดความรู้ในการดำเนินการกิจกรรมกลุ่มย่อย QCC และเครื่องมือ QC ทั้ง 7
• พบว่า ข้อมูลความสูญเสียในระหว่างกระบวนการผลิต และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีปัญหาอยู่เป็นระยะ จึงควรมีการวิเคราะห์หาสาเหตุ และหามาตรการในการป้องกันปัญหาของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
• พบว่า ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และพบว่าการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในองค์กรยังไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากพบว่า มีปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ เกิดขึ้นเป็นระยะ องค์กรจึงควรใช้นำหลักการกิจกรรมกลุ่ม QCC เข้ามาช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
• พบว่า พนักงานฝ่ายผลิตส่วนใหญ่เป็นแรงงานพม่า
และสามารถสรุป จุดแข็ง ของบริษัทได้ ดังนี้
• คณะทำงานของโครงการมีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เข้าใจระบบได้ง่าย และมีศักยภาพสูงในการจัดทำกิจกรรมกลุ่ม QCC
• องค์กรกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ เพื่อขอรับรองมาตรฐาน ISO 14000 จึงทำให้มีข้อมูลมากเพียงพอในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในระบบ อีกทั้งบุคลากรก็มีพื้นฐานที่ดีในการดำเนินโครงการนี้จึงเอื้อต่อการจัดทำกิจกรรมกลุ่มย่อยเป็นอย่างดี
• ผู้บริหารระดับสูง และตัวแทนฝ่ายบริหารมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการดำเนินโครงการนี้เป็นอย่างดี คาดว่าน่าจะสามารถจัดสรรเวลาเพียงพอในการดำเนินการในโครงการนี้
และสามารถสรุป จุดอ่อน ของบริษัทได้ ดังนี้
• บุคลากรมีภาระงานมาก และจำนวนบุคลากรค่อนข้างมีจำกัด ดังนั้น จึงเป็นปัญหาหลักที่สำคัญในการดำเนินการโครงการนี้
3. การวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหาของสถานประกอบการ
จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของโรงงาน สามารถสรุปประเด็นปัญหาได้ดังนี้
องค์กรมีปัญหาด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเกิดขึ้นซ้ำๆ ดังนั้นเพื่อปรับปรุงองค์กรและเป็นการนำ QCC มาประยุกต์ใช้ ที่ปรึกษาจึงมีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพภายในองค์กร ดังนี้
• อบรมให้ความรู้แก่พนักงาน ในเรื่องกิจกรรมกลุ่มย่อย QCC และ QC 7 Tools
• นำความรู้ในเรื่องกิจกรรมกลุ่มย่อย QCC และ QC 7 Tools มาประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นโครงการนำร่องสำหรับอนาคต ที่ต้องขยายผลจากคณะทำงานไปยังพนักงานทุกคนเพื่อให้มีระบบการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
4. ผลลัพธ์ที่ได้
หัวข้อกิจกรรมที่ทางบริษัทเลือกที่จะดำเนินการ คือ การแก้ไขปัญหายางตกหล่นในสายการผลิตเป็นปริมาณมาก เนื่องจากหากบริษัทยังคงมีปริมาณยางที่ตกหล่นในสายการผลิตปริมาณมาก ก็จะส่งผลทำให้บริษัทจะต้องทำการนำยางที่ตกหล่นดังกล่าวมาทำการ Rework งานใหม่ และจากการ Rework งานใหม่ดังกล่าวยังส่งผลกระทบทำให้บริษัทมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นตามไปอีกด้วย
ผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินงานตามขั้นตอนในแผนงานการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนา โดยมีรายละเอียดการทำงาน ดังต่อไปนี้
1) ให้คำแนะนำในการกำหนดเป้าหมายโครงการขององค์กร และชี้แจงภาพรวมในการดำเนินงานของโครงการ ได้แก่ การจัดกลุ่มเป้าหมาย รายละเอียดของขั้นตอนการทำโครงการ และการสรุปผลการดำเนินงาน เป็นต้น
2) ประเมินองค์กรเบื้องต้น ทั้งในส่วนของกระบวนการทำงาน และปัญหาในกระบวนการผลิตขององค์กรที่ต้องการปรับปรุง
3) ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อให้บุคลากรภายในองค์กร มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการตามกระบวนการของโครงการนี้
4) ทำการตรวจประเมินโดยละเอียด การกำหนดแนวทางการแก้ไข กำหนดดัชนีชี้วัด การวางแผนการจัดทำโครงการ
5) ดำเนินการแก้ไขปัญหา การติดตามผลการดำเนินงาน และการสรุปผลการดำเนินการ
รายละเอียดการดำเนินงาน
- สภาพปัญหา
สภาพปัญหาของกระบวนการผลิตในปัจจุบัน พบว่า มีปริมาณยางตกหล่นขณะเดินเครื่องก่อนลงสู่รางระบายน้ำมีจำนวนมาก เดิมมีการปรับปรุงพื้นที่และเครื่องจักรเพื่อป้องกันปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่ประเด็นปัญหายังคงต้องการแก้ไขเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถแสดงได้ดังรูปต่อไปนี้
รูปแสดงปริมาณยาง Recycle Rubber (กิโลกรัม) จากเดือนมกราคม 55 – พฤษภาคม 55
รูปแสดงปริมาณยาง Recycle Rubber เทียบกับปริมาณการผลิตต่อเดือน
- ผลการดำเนินงาน
ลำดับ | ขั้นตอนการแก้ไข | รูปภาพก่อนหลังดำเนินการ | |
---|---|---|---|
ก่อนดำเนินการ | หลังดำเนินการ | ||
1 | ติดตั้งชุดกั้นยางตกเครื่อง VS-2 (Pre cleaning) |
|
|
2 | ซ่อมแซมฝาครอบรางระบายน้ำที่ชำรุด (Pre cleaning, Mixing) |
|
|
3 | ปรับแต่งเครื่องจักรป้องกันยางตกหล่นจากเครื่องรีดยาง (CP-1,2,3,4,5,6) |
|
|
4 | ปรับแต่งเครื่องจักรป้องกันยางตกหล่นจากสายพานลำเลียง |
|
|
5 | ติดตั้งเครื่องจักรดักกรองเศษยางในบ่อกรองเศษยางที่แผนก Pre-cleaning |
|
|
- สรุปผลการดำเนินงาน
รูปแสดงภาพปริมาณยาง Recycle Rubber และปริมาณผลผลิตต่อเดือน
รูปแสดงเปรียบเทียบยาง Recycle Rubber ต่อผลผลิต
- ผลประหยัดหลังดำเนินกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพภายในหน่วยงาน
ประเด็นในการเปรียบเทียบ | ก่อนการปรับปรุง | หลังการปรับปรุง | ผลต่าง | มูลค่าผลประหยัดได้ (บาท/ปี) |
---|---|---|---|---|
Recycle Rubber เฉลี่ยต่อเดือน (กิโลกรัม) | 9,379.80 | 6,121.85 | 3,257.95 | 1,172,862.00 |
ค่าใช้จ่ายงาน Rework เฉลี่ยต่อเดือน (บาท) | 15,476.67 | 10,101.05 | 5,375.62 | 106,437.27 |
รวมมูลค่าผลประหยัดได้หลังดำเนินกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพทั้งสิ้น (บาท/ปี) | 1,279,299.27 |
หมายเหตุ * คิดที่ราคาเฉลี่ยยาง Recycle Rubber กิโลกรัมละ 30 บาท ** คิดค่าใช้จ่ายแรงงาน+พลังงานเพื่อผลิตยาง Recycle Rubber กิโลกรัมละ 1.65 บาท