เว็บไซต์ภายใต้กรม ฯ
SMEs Case Study หจก.ครอบครัวน้ำพริกไทย
1. ข้อมูลกิจการ
ชื่อกิจการ: | ห้างหุ้นส่วนจำกัด ครอบครัวน้ำพริกไทย |
ที่ตั้งสำนักงาน/โรงงาน: | 3 หมู่ที่ 14 บ้านบุใหญ่พัฒนา ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 30170 |
โทรศัพท์: | 044-369-828 |
โทรสาร : | - |
E-mail: | tum10000@hotmail.com |
Web site: | http://www.thaitechno.net/t1/home.php?uid=39588 |
ปีที่เริ่มกิจการ: | 08/10/2551 |
เงินลงทุน: | 2.5 ล้านบาท |
คณะกรรมการ: | นางสว่าง ทัพทวี, นายบุลากร ทัพทวี, นายเดชรักษา ทัพทวี |
ผู้ถือหุ้นหลัก: | นายบุลากร ทัพทวี |
ผู้ประสานงาน: | นายบุลากร ทัพทวี และ นายเดชรักษา ทัพทวี |
รูปแบบธุรกิจ: | การผลิต และจัดจำหน่าย |
ประเภทอุตสาหกรรม: | การผลิตเครื่องเทศและเครื่องแกงสำเร็จรูป |
กำลังการผลิต: | 237,714 กระปุก/เดือน |
ยอดขาย: | ปี 2557 ประมาณ 38 ล้านบาท, ปี 2558 ประมาณ 42 ล้านบาท (สูงขึ้น 10 % จากปี 2557), ปี 2559 ประมาณ 50 ล้านบาท (สูงขึ้น 20% จากปี 2558) |
พนักงาน: | ปี 2557 28 คน ปี 2558 28 คน ปี 2559 28 คน (ประมาณการ) |
ระบบคุณภาพ: | มผช. ฮาลาล อย. และ OTOP ระดับ 5 ดาว |
2. ผลิตภัณฑ์
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ครอบครัวน้ำพริกไทย เป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มของการผลิตเครื่องเทศ และเครื่องแกงสำเร็จรูป โดยมีผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ น้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ตราน้ำพริกแม่สว่าง เครื่องเทศ เครื่องแกงสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิ น้ำปลาผสมกลิ่นแมงดานา กระเทียมเจียว น้ำพริกเผา น้ำกระเทียมดอง น้ำปลาผสม ปลาร้าต้มสุก เป็นต้น
3. ความเป็นมาของกิจการ/แรงบันดาลใจ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ครอบครัวน้ำพริกไทย เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ภายใต้เครื่องหมายการค้าตรา “น้ำพริกแม่สว่าง” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ “เพื่อเป็นการสนับสนุนเกษตรกรไทย วัตถุดิบที่ได้จึงใหม่และสดเสมอ” โดยผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ปริมาณต้นทุนในการผลิตต่ำ ไม่ต้องขนส่งไกล และผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสูง โดยมีอายุการเก็บรักษาได้นาน สอดคล้องกับความต้องการและแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ รวมทั้งโครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ทางบริษัทมีเป้าหมายที่จะขยายตลาดให้เพิ่มสูงขึ้น ทั้งในส่วนของการวางจำหน่ายที่ซุ้มไก่ย่าง 5 ดาว ในเขตพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก จำนวน 4000 สาขา และในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 4000 สาขา โดยตั้งเป้าหมายว่าจะส่งผลให้มียอดขายโดยประมาณอยู่ที่ 400,000 บาทต่อเดือน และเพิ่มยอดขายในส่วนของบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) จากเดิม 5 ผลิตภัณฑ์ เป็น 15 ผลิตภัณฑ์ โดยคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้มียอดขายโดยประมาณอยู่ที่ 560,000 บาทต่อเดือน และด้วยการที่ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ดำเนินธุรกิจในรูปของ "ไฮเปอร์มาร์เก็ต" หรือ "ซูเปอร์เซ็นเตอร์" ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ภายใต้การบริหารงานโดย บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ปัจจุบันบิ๊กซี แบ่งออกเป็น บิ๊กซีจัมโบ้ จำนวน 2 สาขา บิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า จำนวน 15 สาขา และบิ๊กซี จำนวน 105 สาขา รวมเป็นสาขาเปิดให้บริการทั้งสิ้น 122 สาขา แยกเป็นสาขาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 50 สาขา สาขาในต่างจังหวัด 72 สาขา อีกทั้งทางบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) ยังมีแผนงานที่จะเพิ่มจำนวนสาขา เป็น 158 สาขา ซึ่งน่าจะปัจจัยอย่างหนึ่งในการยืนยันให้เห็นถึงโอกาสในการขยายตลาดของ ห้างหุ้นส่วนจำกัดครอบครัวน้ำพริกไทย ได้เป็นอย่างดี
4. กิจกรรมที่ดำเนินการที่ประสบผลสำเร็จ
เชิงคุณภาพ
1) มีการจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจ รวมถึงแผนในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ อย่างเป็นรูปธรรม
2) มีการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารให้เป็นไปตามเกณฑ์การผลิตอาหารที่ดีมากยิ่งขึ้น
3) มีการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต ส่งผลให้เกิดต้นทุนต่อหน่วยสินค้าลดลง
เชิงปริมาณ
1) มีแผนการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม 1 ฉบับ
2) มียอดขายสินค้าในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาท/เดือน และสามารถเพิ่มยอดขายไม่น้อยกว่า 5% เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการ
3) มีเอกสารหรือมาตรฐานการทำงานตลอดกระบวนการผลิตที่เป็นไปตามเกณฑการผลิตอาหารที่ดี จำนวน 1 ฉบับ
4) ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าลดลงไม่น้อยกว่า 5%
ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต
เนื่องจากกระบวนการผลิตบางขั้นตอนของหน่วยงาน ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์การผลิตอาหารที่ดี อาทิ กระบวนการปรุงผสม ซึ่งเดิมต้องเสียเวลาไปกับการตัดแต่ง คัดแยกวัตถุดิบก่อนป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต
แก้ไขปัญหาโดย เพิ่มขั้นตอนของกระบวนการตัดแต่ง คัดแยกวัตถุดิบก่อนป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งจากการเพิ่มขั้นตอนของกระบวนการตัดแต่ง คัดแยกวัตถุดิบก่อนป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต จะส่งผลทำให้ในส่วนของกระบวนการปรุงผสม ไม่ต้องเสียเวลาในการรอคอย/ตัดแต่งวัตถุดิบก่อนใช้ในการผลิต รวมทั้งยังสามารถลดโอกาสการปนเปื้อนต่างๆ ที่จะเข้าไปสู่กระบวนการผลิตได้อีกด้วย อาทิ แมลง ฝุ่นละออง ที่ปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ
สามารถลดความสูญเปล่าในส่วนของการผลิตน้ำพริกแกงแบบตัก ได้ดังนี้
-ค่าแรงงานที่สูญเปล่า =(50 บาท/ชม. * 2 คน* 26 วัน) =5200 บาท/เดือน = 62,400 บาท/ปี
-ค่าเสียโอกาสในการผลิตน้ำพริก ซึ่งรอบการผลิตใช้เวลา 30 นาที และจำสามารถผลิตน้ำพริกได้ 40 กิโลกรัม =4 รอบ*40กิโลกรัม*90บาท/กิโลกรัม*26วัน =374,400 บาท = 4,492,800 บาท/ปี (หรือคิดเป็นปริมาณน้ำพริกที่สูญเสียโอกาสในการผลิต เป็นจำนวน 4,160 กิโลกรัม)
รวมเป็นมูลค่าความสูญเสียเท่ากับ 379,600 บาท หรือเท่ากับ 4,555,200 บาท/ปี
หมายเหตุ : ค่าแรง 400 บาท/วัน หรือเท่ากับ 50 บาท/ชม.
สามารถลดความสูญเปล่าในส่วนของการผลิตน้ำพริกแบบบรรจุกระปุก
สูญเสียน้ำพริกที่จะเอาไปบรรจุกระปุกได้ 4,160 กิโลกรัม
โดย 1 กระปุก น้ำหนักบรรจุ 70 กรัม คิดเป็น 59,428.57 กระปุก/เดือน ซึ่งคิดเป็นเงิน 777,325.71 บาท/เดือน
*** เพิ่มคนงาน 1 คน *300 บาท/วัน * 26 วัน คิดเป็นเงิน 7,800 บาท/เดือน เหลือส่วนต่างสุทธิจากการปรับปรุงลดความสูญเสีย 769,525.71 บาท/เดือน หรือเท่ากับ 9,234,308 บาท/ปี
หมายเหตุ : ราคากระปุกละ 13.08 บาท ฝ่ายบรรจุมีพนักงานทั้งหมด 8 คน เป็นฝ่ายบรรจุลงกระปุก 5 คน (กำลังการผลิตปัจจุบันเท่ากับ 10,000 กระปุก/วัน หรือเฉลี่ยเท่ากับ 2,000 กระปุก/คน)
ดังนั้น เพิ่มแรงงาน 1 คนเพื่อบรรจุน้ำพริกที่ได้เพิ่มขึ้น 2,285.71 กระปุก
ทั้งนี้ การที่สามารถผลิตน้ำพริกได้เพิ่มขึ้น ก็ยังไปช่วยให้สามารถส่งมอบสินค้าให้กับบิ๊กซีได้ครบตามจำนวน และไม่ต้องเสียค่าปรับจากการส่งสินค้าไม่ครบตามจำนวนอีกด้วย
หมายเหตุ : ราคาน้ำพริกกิโลกรัมละ 90 บาท
5. ผลลัพธ์ที่เกิดจากการเข้าร่วมโครงการ
ในการดำเนินงานโครงการในครั้งนี้ ทางบริษัทได้มีการจัดทำแผนงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และแผนการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก ณ ปัจจุบัน ทางหน่วยงานประสบปัญหาขาดสภาพคล่องในส่วนของเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินการธุรกิจ นอกจากนั้นในระหว่างการดำเนินงานโครงการในครั้งนี้ทางหน่วยงานยังได้มีการดำเนินกิจกรรมลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต เพื่อเป็นการลดต้นทุนในกระบวนการผลิตอีกด้วย โดยผลที่ได้จากการดำเนินงานดังกล่าวสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ 62,400 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 5% และมีมูลค่าความสูญเสียที่ลดลงได้เท่ากับ 13,789,508 บาทต่อปีหรือคิดเป็น 25% ของกำลังการผลิตสูงสุดของหน่วยงาน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มมูลค่ายอดขายได้ประมาณ 6,240,000 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 20% อีกด้วย