เว็บไซต์ภายใต้กรม ฯ
กรณีศึกษา : โรงงานผลิตซอส เพิ่มประสิทธิภาพและลดสูญเสียด้วยกิจกรรมกลุ่ม QCC
โรงงานผลิตซอสขนาดกลางมีกำลังผลิตประมาณ 14,000 ต่อปี และมีพนักงานประมาณ 350 คน การผลิตของโรงงานมีหลายแผนก ปัญหาในกิจการนี้คือ มีการสูญเสียจาการบรรจุซอสเป็นซองเล็ก เนื่องจากมาตรฐานของลูกค้าต้องการน้ำหนักบรรจุ 8 กรัมต่อซอง ทำให้ทางโรงงานตั้งน้ำหนักควมคุมที่ 8 – 9 กรัมต่อซอง แต่ในการทำงานจริงพบว่าฝ่ายผลิตจะตั้งช่วงควบคุมที่ 8 กรัมขึ้นไป แต่ไม่ใส่ใจว่าจะสูงสุดที่เท่าไหร่ จากการสุ่มตรวจสอบของฝ่าย QC. มีน้ำหนักสูงสุดถึง 12 กรัม สาเหตุที่ฝ่ายผลิตไม่ให้ความสำคัญกับการควบคุมน้ำหนัก เพราะถ้าฝ่าย QC.ตรวจพบว่ามีน้ำหนักเบากว่า 8 กรัมต่อซองจะถูกกักเป็นของเสียและต้องแก้ไข แต่ถ้าน้ำหนักเกิน 8 กรัมต่อซองมากเท่าไรก็ไม่ถือเป็นของเสีย ทำให้ฝ่ายผลิตให้ความสำคัญกับน้ำหนักที่เบาเพียงอย่างเดียว แต่ฝ่ายผลิตลืมคิดถึงน้ำหนักซอสที่ต้องสูญเสียทุกซองที่บรรจุเกินไป
เมื่อเข้าร่วมโครงการกับทางภาครัฐทางโรงงานจึงต้องการลดการสูญเสียน้ำหนักซอส และต้องการให้มีซอสที่บรรจุอยู่ในช่วงควบคุมมากกว่า 82 % ทางที่ปรึกษาจึงได้เสนอแนวทางทางในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดการสูญเสียโดยการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพงานด้วยกิจกรรมกลุ่ม QCC. โดยที่ปรึกษาได้มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. อบรมให้ความรู้แก่พนักงานและหัวหน้างานเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางานตามแนวทาง QCC รวมถึงการใช้เครื่องมือคุณภาพในการปรับปรุงงาน
2. ให้พนักงานวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาโดยพิจารณาจาก 4 M โดยการใช้แผนภูมิก้างปลา
3. ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามสาเหตุที่วิเคราะห์ เก็บข้อมูลเปรียบเทียบกับก่อนดำเนินการ
4. กำหนดมาตรฐานการทำงานใหม่เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน และนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์อื่นที่มีปัญหาแบบเดียวกัน
ผลจากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาทางกลุ่ม QCC. ด้วยแผนภูมิก้างปลา
ผลการดำเนินของกิจกรรมกลุ่ม QCC. เป็นเวลา 4 เดือน พบว่า
1. การควบคุมน้ำหนักสามารถควบคุมให้อยู่ในช่วง 8 – 10 กรัม / ซอง
2. จำนวนซองที่อยู่ในช่วงควบคุม 8 – 9 กรัม / ซอง เพิ่มขึ้นจาก 82% เป็น 85%
3. พนักงานคุมเครื่องทุกคนทั้งกะกลางวันและกะกลางคืนมีความกระตือรือร้นในการปรับแต่งเครื่องจักร เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในช่วงควบคุม และเข้าใจว่าถ้าบรรจุน้ำหนักเกินก็จะถูก reject ด้วย
4. ทางโรงงานขายซอสที่ราคา 0.51 บาท/ซอง
- ก่อนปรับปรุงงานเฉลี่ย : batch size 450 kg ได้ Yield 82%คิดเป็นจำนวนซอง 46,000 ซอง คิดเป็นเงิน 23,460บาท
- หลังการปรับปรุงเฉลี่ย:batch size 450 kg ได้ Yield 85%คิดเป็นจำนวนซอง 48,500ซอง คิดเป็นเงิน 24,735บาท
- จากการปรับได้จำนวนเงินเพิ่มขึ้น 24,735 - 23,460 = 1,275บาท/ batch size
ถ้าใน 1 เดือน ผลิตได้เฉลี่ย 100batch /เดือน จะได้เงินเพิ่มขึ้น 100 x 1,275 = 127,500 บาท/เดือน
คิดเป็น 127,500x 12 =1,530,000 บาท / ปี